fbpx
KNOWLEDGE

MQA คืออะไร แล้วคุณจะฟังมันได้ยังไง

MQA ย่อมาจาก Master Quality Authenticated เป็นเทคโนโลยีทางด้านเสียงที่พัฒนาโดย Bob Stuart ผู้ร่วมก่อตั้ง Meridian Audio โดยเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การสตรีมมิ่งเสียงในแบบ hi-res audio เป็นจริงขึ้นมาได้ แต่มันคืออะไร? และทำไมควรที่จะทำความรู้จักมัน?

การบริการสตรีมมิ่งเพลงกลายมาเป็นสื่อหลักที่ทำให้ใครหลายคนหันมาฟังเพลงมากขึ้น ในปีที่ผ่านมารายได้จากการสตรีมมิ่งเติบโตสูงกว่ารายได้จากการขายเพลงบนสื่ออื่น ๆ ที่จับต้องได้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มูลค่าการขายผ่านสตรีมมิ่งแตะ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ผู้นำตลาดการให้บริการสตรีมมิ่งเพลงอย่าง Spotify และ Apple ใช้มาตรฐานการบีบอัดไฟล์แบบที่ข้อมูลเพลงเกิดการสูญเสีย อย่าง MP3, AAC หรือ Ogg Vorbis ด้วยการแซมปิ้งระดับ 256kbps หรือ 320kbps

แต่ก็มีผู้ให้บริการบางส่วนอย่าง Deezer HiFi, Qobuz และ Tidal ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงในแบบสูญเสียคุณภาพเสียงต่ำด้วยรายละเอียดเสียงระดับ CD

เจ้าแรกที่ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงในแบบ Hi-res คือ Qobuz โดยผ่าน App ในระบบปฏิบัติการณ์ Android และในปัจจุบัน Tidal ถือเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงในแบบ Hi-res บนเครื่องเล่นทั่วไป

โดยได้เปิดตัวการให้บริการในชื่อ Tidal Master ภายในงาน CES 2017 และใช้เทคโนโลยี MQA ทำให้การสตรีมแบบ Hi-res สามารถเป็นไปได้

MQA คืออะไร? และช่วยให้การสตรีมมิ่งในแบบ hi-res เป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร

MQA คืออะไร?
MQA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ “ปรับปรุงคุณภาพการฟังเพลงตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน” เป็นวิธีการเก็บเพลงดิจิทัลที่บันทึกไว้ในรูปแบบไฟล์ให้เล็กและสะดวกพอที่จะดาวน์โหลดหรือสตรีมได้โดยไม่เสียคุณภาพเสียงไประหว่างการบีบอัดข้อมูล

MQA อ้างว่าบทเพลงที่ได้จากวิธีดังกล่าวมีแบนด์วิดธ์ใกล้เคียงกับการสตรีมด้วยมาตรฐานระดับ CD ดังนั้นหากคุณต้องการสตรีมเพลงระดับ hi-fi จาก Tidal ทำได้อย่างสะดวกไร้ปัญหาโดยผ่าน Tidal Masters ซึ่งใช้ MQA ในการเข้ารหัส

นั่นหมายความว่าการสตรีมมิ่งเพลงความละเอียดสูง สามารถกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ เพลงที่สตรีมมีคุณภาพเท่าเทียมกับที่บันทึกไว้ในสตูดิโอโดยไม่จำเป็นต้องมีแบนด์วิดธ์ในการส่งมากมาย

ทำอย่างไรถึงจะฟัง MQA ได้?
แทนที่จะเป็นการออกรูปแบบไฟล์เพลงใหม่เหมือนกับ FLAC, WAV หรืออื่น ๆ MQA จะถูกบันทึกใส่ไว้กับไฟล์เพลงที่มีอยู่อย่าง FLAC, WAV หรือ Apple Lossless เพียงแต่จะต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน

อย่างเครื่องเล่นสตรีมมิ่ง หรือเครื่องเล่นแบบพกพา หรือเล่นผ่านซอฟแวร์ Tidal ซึ่งรองรับการถอดรหัสสัญญาณ MQA

และนี่ไม่ใช่ภาพฝันปัจจุบันมีสินค้ารองรับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Pioneer XDP-100R และ Onkyo DP-X1 เป็นหนึ่งในเครื่องเล่นแบบพกพาที่รองรับ MQA เป็นเครื่องแรก ๆ

ซึ่งนับรวมถึง Pioneer XDP-30R, Onkyo DP-S1, Sony NW-ZX300 และ WM-A40 ที่สามารถรองรับ MQA และจากงาน IFA 2017 ทาง LG ได้ปล่อย V30 สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของโลกที่รองรับ MQA

เครื่องเล่นเพลงผ่านระบบเครือข่าย SU-G30 ของ Technics อยู่ในรายชื่อสินค้าที่รองรับ MQA ด้วยเช่นเดียวกับ Bluesound เจนเนอร์เรชั่นที่ 2 ตลอดรวมไปถึงเครื่องเสียงไฮไฟจาก NAD, Moon

โดย Simaudio, Mark Levinson และ Audiolab และยังมีอีกหลากหลายผู้ขายและหากผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะเปิดตัวในอนาคต และมันดีมากสำหรับการอัปเดตเฟิร์มแวร์ของ DragonFly Black และ DragonFly Red จาก AudioQuest ทำให้ DAC ทั้งสองรุ่นรองรับ MQA

ในส่วนสินค้าของ Meridian รองรับการใช้งาน MQA ด้วยการอัปเดตซอฟแวร์ ไม่ว่าจะเป็น USB DAC อย่าง Explorer 2, เครื่องขยายเสียงสำหรับหูฟัง Prime, เครื่องเล่นซีดี 808v6 Reference, 818v3 Reference Audio Core, ลำโพงซีรีส์ Special Edition และ ระบบชุดเครื่องเสียง 40th Anniversary Systems

หากนักเล่นมีเครื่องเสียงเหล่านี้สามารถหาตัวอัปเดตเฟิร์มแวร์มาทำการอัปเดตได้แล้ววันนี้

หากนักเล่นไม่มีอุปกรณ์เครื่องเสียงดังกล่าวข้างต้นนักเล่นยังมีตัวเลือกง่าย ๆ เล่นผ่านคอมพิวเตอร์ด้วย Tidal Desktop App ที่สามารถถอดรหัสและเล่นไฟล์ MQA จาก Tidal Masters ได้

คุณจะหาไฟล์เพลง MQA ได้จากไหน?
ในช่วงแรกไฟล์เพลง MQA ให้บริการโดย Highresaudio, Onkyo Music (โดย 7digital) และ 2L รวมถึง e-onkyo music, ร้านค้าของ Kripton HQM และร้านขายเครื่องเสียงในญี่ปุ่น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้ให้บริการสตรีมเพลงหลายเจ้าได้มีการปรับเปลี่ยนคุณภาพไฟล์เพลงให้อยู่ในระดับไฮไฟ Deezer เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงล่าสุดที่ใช้ระบบ MQA

แม้จะไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจาก Deezer ว่าจะปล่อยให้สตรีมเพลงที่ความละเอียดสูง 100% แต่นั่นก็ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลง

กับค่ายเพลงหลัก อย่าง Universal, Warner Bros และ Sony Music ในขณะนี้ต่างเป็นพันธมิตร (และนำเสนอผลงานเพลง) กับ MQA ด้วยเช่นกัน ดูแล้วไม่เป็นที่น่าแปลกใจในการลงมาให้บริการสตรีมมิ่งเพลงจากค่ายเหล่านี้

Apple จะรองรับ MQA หรือไม่?
ในขณะที่ลูกค้าฝั่ง Android ได้รับการสนับสนุนรูปแบบเสียง hi-res ติดมากับเครื่องไม่ว่าจะเป็นเครื่องของ Samsung, Sony และ LG แต่กับ iPhone จะรองรับระบบเสียงไฮเรสผ่าน App จากผู้พัฒนาอิสระ โดยต่อหูฟังผ่านขั้วต่อ Lightning

มีข่าวลือเข้ามาว่าทาง Apple กำลังวางแผนที่จะปล่อยเพลง hi-res ผ่านทาง Apple Music แต่คงไม่ต้องลุ้นให้เสียเวลา

สำหรับ iPhone 8, 8 Plus และ iPhone X ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปรองรับการเล่นไฟล์ FLAC แต่จะสามารถรองรับการเล่นเพลงในแบบ hi-res จริง ๆ ได้หรือไม่ต้องทดสอบกัน

สักวันหนึ่ง Apple จะสามารถเล่นเพลงไฮเรสแบบ MQA ได้หรือไม่นั้นต้องตามดูกันต่อไป แต่ไม่ใช่ในปีนี้ ตามดูการเปลี่ยนแปลงในอนาคตกันต่อไป

สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือสำหรับทุกคนที่มีความสนใจคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น MQA เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตา

 

 

ธวัชชัย อุไรรัตน์

ชื่นชอบดนตรีและเครื่องเสียงตั้งแต่ ปวช. ประกอบเครื่องเสียงใช้เองตั้งแต่เริ่มแรก ผ่านประสบการณ์ทางด้านเสียง/โฮมเธียเตอร์มาแล้วหลายรูปแบบ ทั้งนักวิจารณ์เครื่องเสียง/โฮมเธียเตอร์ เป็นทีมงานเครื่องเสียงให้เช่า (ติดตั้งโครงสร้าง วางลำโพง เซ็ตระบบเสียงทั้ง PA และ Monitor มิกซ์เสียง) ผ่านงานติดตั้งระบบมินิเธียเตอร์ ทั้งระบบภาพ 3D แบบ Passive (2 Projector Stack) และระบบเสียง 7.1 แชนเนล ผ่านการอบรม The Sound Master มีผลงานเขียนตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ