fbpx

AV Tech Guide สื่อ Online รีวิว ข่าว ความรู้ ด้านเครื่องเสียง ไฮไฟ โฮมเธียเตอร์ ทีวี สมาร์ทโฟน ไอที มัลติมีเดียและสินค้านวัตกรรม

AV Tech Guide สื่อ Online รีวิว ข่าว ความรู้ ด้านเครื่องเสียง ไฮไฟ โฮมเธียเตอร์ ทีวี สมาร์ทโฟน ไอที มัลติมีเดียและสินค้านวัตกรรม

iFi เปิดตัว xDSD DAC/Amp พกพาที่รองรับ MQA, PCM 768kHz และ DSD512

iFi รุ่น xDSD จะเข้ามาอยู่ในไลน์สินค้าที่เหนือรุ่น nano iDSD Black Label ของ iFi ซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ โดย xDSD จะสามารถเล่นเพลงผ่านบลูทูธแบบ aptX หรือเชื่อมต่อเข้ากับแล็ปท็อปผ่านทางสาย รวมไปถึงต่อเข้ากับแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนทางขั้วต่อ USB Type-A

อีกทั้งยังมีช่องเสียบแจ็ค 3.5mm สำหรับหรับเชื่อมต่อสัญญาณในแบบ Coaxial หรือ Optical ร่วมกับสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น ทีวี สำหรับช่องเสียบเอาต์พุตหูฟังจะอยู่ที่ด้านหน้าเครื่อง xDSD

ระยะเวลาในการใช้งาน เมื่อชาร์จแบตเต็มจะอยู่ที่ 10 ชั่วโมงสำหรับการเชื่อมต่อผ่านช่อง coaxial/optical และ 8 ชั่วโมงสำหรับการเปิดใช้บลูทูธ หากเชื่อมต่อผ่าน USB จะใช้งานได้ 6 ชั่วโมงเช่นเดียวกับคู่แข่งอย่าง Chord Mojo และ Oppo HA-2 SE

iFi xDSD สามารถรองรับไฟล์ PCM ได้ถึง 384kHz และไฟล์ DSD256 ผ่านทางอินพุต USB ได้ และเมื่อได้รับการอัปเดตเฟิร์มแวร์ในอนาคตมันจะรองรับไฟล์ไปได้ถึง 768kHz และ DSD512 แต่อย่างไรก็ตามการเล่นผ่าน coaxial/optical จะถูกจำกัดไว้ที่ 24 บิต/192kHz

เช่นเดียวกับ DAC บางรุ่นของ iFi เอง xDSD จะเป็นอีกรุ่นที่รองรับเทคโนโลยี MQA ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สตรีมไฟล์เพลง TIDAL Masters หรือไฟล์ MQA ที่มาจากการดาวน์โหลดผ่านทางร้านค้าออนไลน์

xDSD ใช้ชิป DAC เบอร์ DSD1793 ของ Burr-Brown เช่นเดียวกับที่ใช้ใน iFi รุ่น micro iDSD BL แต่มีคุณสมบัติที่พิเศษมากกว่าเดิม

คุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นอย่างแรก มีฟังก์ชั่น 3D+ โดยจะแยกวงจรสองส่วนออกจากกัน: วงจรหนึ่งเหมาะสำหรับเชื่อมต่อหูฟังและอีกวงจรเหมาะสำหรับเชื่อมต่อกับลำโพง ภาคขยายสัญญาณเสียงสำหรับหูฟังเป็นแบบ Cyberdrive ถูกออกแบบวงจรใหม่มุ่งเน้นเพื่อให้สามารถรองรับกับการเชื่อมต่อเข้ากับหูฟังที่มีอิมพิแดนซ์ที่หลากหลายขึ้น

สำหรับผู้ที่รักในเสียงเบส สามารถทดลองใช้ฟังก์ชัน XBass+ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในย่านต่ำให้ดีขึ้น

สำหรับราคาจำหน่าย xDSD เป็นสินค้าที่ขายในระดับราคาเดียวกับ Chord Mojo แต่ที่ยังเป็นคำถามคือ แล้วเสียงของมันล่ะจะเทียบกันได้ไหม ?

ธวัชชัย อุไรรัตน์

ชื่นชอบดนตรีและเครื่องเสียงตั้งแต่ ปวช. ประกอบเครื่องเสียงใช้เองตั้งแต่เริ่มแรก ผ่านประสบการณ์ทางด้านเสียง/โฮมเธียเตอร์มาแล้วหลายรูปแบบ ทั้งนักวิจารณ์เครื่องเสียง/โฮมเธียเตอร์ เป็นทีมงานเครื่องเสียงให้เช่า (ติดตั้งโครงสร้าง วางลำโพง เซ็ตระบบเสียงทั้ง PA และ Monitor มิกซ์เสียง) ผ่านงานติดตั้งระบบมินิเธียเตอร์ ทั้งระบบภาพ 3D แบบ Passive (2 Projector Stack) และระบบเสียง 7.1 แชนเนล ผ่านการอบรม The Sound Master มีผลงานเขียนตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ