fbpx
NEWS

จ่อหมดยุค ‘โปรเจ็กเตอร์ที่ใช้หลอดไฟ’ หลังจากสหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบใหม่

สำหรับผู้ที่ยังมีโปรเจ็กเตอร์ที่ใช้หลอดไฟส่องสว่างแบบเดิม ๆ ในระบบโฮมเธียเตอร์ของคุณ ในเวลานี้คุณอาจจำเป็นต้องเริ่มพิจารณาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแล้ว

กฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปหมายมีข้อกำหนดว่า การผลิตและจำหน่ายหลอดไฟที่ใช้ในโปรเจ็กเตอร์เหล่านี้จะถูกห้ามในปี 2026 ซึ่งหมายความว่าคุณจะไม่สามารถซื้อหลอดไฟทดแทนมาเปลี่ยนหลอดเดิมที่เสื่อมสภาพ รวมถึงไม่สามารถหาซื้อโปรเจ็กเตอร์เครื่องใหม่ที่เป็นระบบให้แสวสว่างด้วยหลอดไฟดังกล่าวได้อีกต่อไป

ตามที่รายงานโดยนักข่าว Michael Rehders ในบล็อกของเขา (https://rehders.de) และข้อมูลที่ได้รับการเน้นย้ำในหน้าเว็บไซต์ flatpanelsHD ได้ระบุว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอท ซึ่งเป็นสารที่ทางสหภาพยุโรปเห็นว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์

ความตระหนักต่อการใช้งานสารปรอทเริ่มต้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2005 และขณะนี้ได้เริ่มมาพิจารณากับกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดไฟแล้ว ซึ่งได้นับรวมถึงหลอดไฟที่ใช้ในเครื่องฉายโปรเจ็กเตอร์ประสิทธิภาพสูงพิเศษ (UHP) ด้วย โดยโปรเจ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากที่สุดก็คือโปรเจ็กเตอร์ประเภท DLP อย่างไรก็ดีโปรเจ็กเตอร์ประเภทอื่นก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วโปรเจ็กเตอร์ 4K ที่ดีที่สุดหลายรุ่นในเวลานี้ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบหลอด LED หรือเลเซอร์แล้ว เนื่องจากตัวเลือกใหม่ ๆ เหล่านี้มีอายุการใช้งานที่ดีขึ้นอย่างมาก แต่โปรเจ็กเตอร์ที่ใช้ UHP ก็ยังคงพบอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายใหญ่หลายราย ตัวอย่างเช่น BenQ W1800

เหตุผลหนึ่งที่บรรดาโปรเจ็กเตอร์เหล่านี้ยังคงได้รับความนิยมก็เนื่องมาจากคุณสมบัติที่สามารถให้ความสว่างสูงด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ข้อเสียคือ อะไหล่ตัวหลอดไฟจำเป็นต้องเปลี่ยนทุกๆ 2,000-4,000 ชั่วโมงในโหมดปกติ เทียบกับ 20,000+ ชั่วโมงที่ผู้ใช้งานจะได้รับจากเทคโนโลยีของคู่แข่ง

กฎระเบียบใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2026 อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ค้าปลีก พวกเขาจะยังสามารถขายสต็อกที่มีอยู่ได้นับตั้งแต่วันดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลกระทบต่อความต้องการที่เข้าใจได้ คุณสามารถคาดหวังได้ว่าการผลิตโปรเจ็กเตอร์เหล่านี้อาจลดลงก่อนที่จะเริ่มมีการห้าม รวมถึงการผลิตอะไหล่หลอดไฟทดแทนด้วย ดังนั้นหากว่าคุณมีโปรเจ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบและยังไม่อยากซื้อเครื่องใหม่ อาจเป็นการดีที่สุดที่จะเริ่มตุนอะไหล่หลอดไฟเหล่านั้นตั้งแต่ตอนนี้


ที่มา: whathifi

กองบรรณาธิการ AV Tech Guide

สื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมในกลุ่มสินค้าเครื่องเสียงไฮไฟ โฮมเธียเตอร์ ไอทีมัลติมีเดีย ตลอดจนสินค้านวัตกรรมอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ