รีวิว LG : 65E7
ถ้าใครตามข่าวในโลกอินเตอร์เน็ตเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมากระแสของความฮือฮาจากการเปิดตัว TV OLED Series ใหม่ของ LG ที่ใช้ชื่อรุ่นว่า 7 series ตัวท็อปของเขามีความบางเพียงประมาณ 2.57 มิลลิเมตร ซึ่งเกือบจะเรียกว่าทีวีกระดาษกันเลยทีเดียว เพราะมีน้ำหนักเบา และที่สำคัญมันบางมากสามารถแขวนไว้บนผนังเหมือนงานศิลปะที่ใช้แม่เหล็กดูดเอาไว้เพียงแค่นั้น
ใครอยากเห็นหน้าค่าตามันลอง หาคำว่า LG W7 ในอินเทอร์เน็ตดู แต่ในบ้านเรารุ่นที่ทุกคนจับตามองไม่ใช่รุ่น W7 และ G7 ที่เป็นรุ่นพี่ เอาเข้าจริง ๆ รุ่นรองลงมาอย่าง LG E7 ได้รับคะแนนโหวตมากว่าอยากให้มีการแนะนำเจ้า E7 มากกว่า และ LG ก็ทำตามคำเรียกร้องของเราโดยส่งรุ่น 65E7 มาให้ทดสอบจริง ๆ
มีคนเคยตั้งคำถามว่าภาพทีวีใน อุดมคติมันจะเป็นยังไง เจอคำถามแบบนี้ผมเองก็นั่งนึกอยู่นานเหมือนกัน ขนาดตัวเองอยู่กับจอภาพอยู่กับทีวีเกือบทุกวันยังต้องใช้เวลาตรึกตรอง ถ้าเอาความรู้สึกของผมตัดสิน จอภาพทีวีในอุดมคติของผมต้องทำให้รู้สึกเหมือนว่าเราไม่ได้จ้องมองทีวีอยู่
ถ้าถามต่ออีกว่าแล้วทีวีปัจจุบันนี้ มันขยับเข้าใกล้ความเป็นอุดมคติอย่างที่ผมต้องการหรือยัง ถ้าเป็นเมื่อสักปลายปีที่แล้ว ผมคงตอบคำถามนี้ได้ทันทีว่า “ยัง” มันยากเหมือนกัน แต่วันนี้เราเห็นเพียงแต่ทีวีมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปไกล ขนาดจอบางลงจนน่ากลัว ขนาดที่มันสามารถทำให้เราลืมนึกถึงเรื่องตัวเลขคอนทราสต์ของภาพ มีความสว่างในระดับที่ทำให้เรารู้สึกถึงความจ้าของแสงที่สาดออกมาจากทีวี สีสันรายละเอียดที่ดูแล้วเป็นธรรมชาติ แต่วันนี้มันมีทีวีที่ทำให้ผมการพูดว่านี่แหละมันจะเป็นอนาคตของภาพจากทีวีที่เราจะเห็นกันอีกต่อ ๆ ไป
The Magic
การออกแบบของ E7 ซึ่งคล้ายกับ E6 ปีที่แล้วด้วยแผง OLED ที่บางมาก ประกบกับชิ้นส่วนของกระจกโปร่งแสงและลำโพง ติดตั้งลำโพงขนาดเล็กชุด หนึ่งด้านล่าง ที่แตกต่างคือ E7 เมื่อวางบนขาตั้งอลูมิเนียมแบบฐานาเดี่ยวตรงกลางจอ จะอยู่สูงจากพื้นขึ้นมามากขึ้นอีกเล็กน้อยจึงมีช่องว่างระหว่างลำโพง และพื้นทำให้สามารถสอดมือเข้าไปเพื่อยกทีวีตัวนี้ได้ง่ายขึ้น
ด้วยดีไซน์ของ LG ที่บัญญัติไว้กับ OLED TV ในปี 2017 ที่เรียกว่า Pictures on Glass ทีวีตัวนี้จึงประกอบไปด้วยกระจก 2 แผ่นที่หนาไม่เท่ากันแผ่นที่หนาที่สุดน่าจะประมาณ 1/8 นิ้ว หรือ 1 หุนประกบกันโดยมี panel OLED อยู่ตรงกลาง สันนิษฐานว่าเป็น panel เดียวกับที่ใช้ในรุ่นท็อปของเค้าคือ W7 ที่เป็นวอลเปเปอร์ OLED
ขั้วต่อสัญญาณต่าง ๆจะอยู่ทางด้านซ้ายเมื่อเราหันหน้าเข้าหาจอ โดยจะแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งจะเป็นชุดอินพุตที่เสียบเข้าทางด้านข้างทีวีก็จะมี HDMI 1/2/3 และ USB 3.0 หนึ่งอินพุต ส่วนอินพุตอีกชุดนึงจะหันด้านหลังให้ทีวี ซึ่งก็จะเป็นอินพุตของกล่องสมาร์ททีวียุคใหม่ทั้งหลายอย่างพวก RJ45/ Optical อินพุต สำหรับส่งออกสัญญาณเสียงดิจิตอล รวมทั้งข้อต่อแบบที่ต้องใช้อแดปเตอร์แปลงสำหรับการรับสัญญาณภาพที่เป็นอนาล็อกทั้งหลาย
ส่วนตัวปลั๊กไฟ AC จะอยู่อีกฟากหนึ่งของทีวีติดมากับตัวจอหมดสิทธิ์ถอดออก เหมือนกับส่วนของลำโพงที่มันติดอยู่กับจอ ถ้าใครยกมันขึ้นแขวนกับผนังก็ยังคงทำได้ใช้น๊อตยึดกับขาแขวนที่ด้านหลังเขามีรูน๊อตให้ 4 ตัวรับน้ำหนักได้สบาย
สิ่งที่ผมชอบกับทีวีของ LG หลายต่อหลายตัวก็คือการคอนโทรลการใช้งานฟังก์ชั่นต่าง ๆผ่านทาง Magic Remote หรือที่เราเรียกว่า Air Mouse คือเมื่อใดก็ตามที่เราหยิบรีโมทขึ้นมา แล้วกดปุ่มใดปุ่มหนึ่งจะมีรูปเมาส์สีแดง ๆขึ้นมาที่หน้าจอ มันเหมือนแทนนิ้วมือที่เราเอาไว้สำหรับจิ้มเลือกฟังก์ชันต่าง ๆ บนหน้าจอเพื่อสั่งงาน
หรือจะใช้วิธีสั่งมันด้วยเสียงก็อยู่ในรีโมทตัวนี้ตัวเดียว ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในระบบปฏิบัติการบนทีวีของ LG ที่เรียกว่า Web OS 3.5 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบนทีวีที่ทำงานได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยใช้มาไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอินพุต หรือการแสดงภาพย่อเพื่อโชว์ไฟล์ต่าง ๆ เว้นเสียแต่ว่ามันอาจจะมี application อื่น ๆให้เลือกใช้น้อยไปเท่านั้น และสำหรับผู้ที่ชอบดูสตรีมวิดีโอ 4k บ่อย ๆมีปุ่ม Netflix และ Amazon ที่รีโมทอยู่แล้วกด เข้าถึงได้เลยแต่ต้องไปเข้าเมนูอีกให้เสียเวลา
Setup
คงจะมีคนแอบสงสัยว่าทีวีระดับนี้ยังต้องมีการ setup อยู่ด้วยเหรอ คงต้องแบ่งการใช้งานออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ยังไงซะก็ไม่คิดจะคาลิเบรทหรือปรับแต่งอะไรอีกแล้ว กลุ่มนี้การใช้งานค่าที่ตั้งมาให้ของทีวีจะมีอิทธิพลมากกับคุณภาพของการใช้งาน คือถ้าเลือกผิดแล้วไปโทษว่าทีวี สว่างเกินไป หรือสีเพี้ยน อันนี้ก็ต้องโทษตัวคุณเองแล้วครับว่าไม่อ่านคู่มือให้ดี