Huawei เปิดตัวระบบปฏิบัติการ HarmonyOS สำหรับสมาร์ทโฟน และสินค้าอื่น ๆ
หลังจากที่ตกเป็นข่าวมานานหลายเดือนเกี่ยวกับการซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเอง วันนี้ในงานประชุมนักพัฒนา HCD 2019 ที่ประเทศจีน หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ของตัวเองในชื่อ HarmonyOS
HarmonyOS คือระบบปฏิบัติการประเภท microkernel-based ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในอุปกรณ์หลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, อุปกรณ์ wearables, คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และสมาร์ททีวี
HarmonyOS has just been announced at #HDC2019! How are we going to build an all-scenario smart ecosystem and experience? How will we overcome the challenges of future OS for connected things? Stayed tuned with us to find out. pic.twitter.com/x7ZbgcEy2d
— Huawei Mobile (@HuaweiMobile) August 9, 2019
ระบบปฏิบัติ HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติแบบ open-sourced ที่ใช้ ARK compiler ของหัวเว่ยเอง สามารถใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันของ Android ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ทันที
ระบบปฏิบัติ HarmonyOS จะเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในสมาร์ททีวีรุ่นแรกของหัวเว่ยที่จะเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ จากนั้นจะถูกนำมาใช้ในกับอุปกรณ์พกพาและคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปในปีหน้า
หัวเว่ยยังเผยว่าสำหรับสินค้าในกลุ่มสมาร์ทโฟน ทางบริษัทก็พร้อมจะนำระบบปฏิบัติ HarmonyOS มาใช้งานได้ทันที หากว่าถูกห้ามไม่ให้ใช้ Android OS
ระบบปฏิบัติ HarmonyOS ผ่านการรับรอง Trusted Execution Environment สำหรับการใช้งานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบปฏิบัติการนี้มีความปลอดภัยไม่ว่าจะถูกใช้งานในแพลตฟอร์มใด
For the first time, #HarmonyOS will have a verified TEE (Trusted Execution Environment). Improving connected security across multiple smart devices in a connected all-scenario world #HDC2019 pic.twitter.com/o1TF54Hjkc
— Huawei Mobile (@HuaweiMobile) August 9, 2019
ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสื่อของจีนได้รายงานว่าทาง Huawei เตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ใช้ HarmonyOS ในช่วงปลายปีนี้
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาหลังจากประสบปัญหาถูกกีดกันจากรัฐบาลสหรัฐฯ และการใช้งานระบบปฏิบัติการ Android แม้ว่าจะมีการต่อรองให้เกิดความยืดหยุ่นในภายหลังไปบ้างแล้วแต่เรื่องของอนาคตก็ไม่มีอะไรแน่นอน จึงอาจเป็นไปได้ว่าทางหัวเว่ยจะเร่งพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ของตัวเองเพื่อใช้สำรองแทน Android
ที่มา: The Next Web