Site icon AV Tech Guide สื่อ Online รีวิว ข่าว ความรู้ ด้านเครื่องเสียง ไฮไฟ โฮมเธียเตอร์ ทีวี สมาร์ทโฟน ไอที มัลติมีเดียและสินค้านวัตกรรม

ทีวีในอนาคตอาจใช้เทคโนโลยี Quantum Dots ที่ทำจากแกลบข้าว

Future TVs may feature Quantum Dots made from rice

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮิโรชิม่าในประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนากระบวนการที่สามารถลดการใช้งานวัสดุเป็นพิษที่ใช้ในกระบวนการผลิตจอแสดงผล Quantum Dot (QD) LED

โดยทีมวิจัยซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาพื้นฐาน ได้ค้นพบวิธีที่จะนำกากแกลบจากเปลือกข้าวทั่วโลกจำนวน 100 ล้านตัน ซึ่งสร้างขึ้นเป็นประจำทุกปี มาใช้ประโยชน์ในการผลิตหน้าจอโทรทัศน์ QD-OLED

จากพื้นฐานแล้ว ทีมงานได้ค้นพบวิธีการรีไซเคิลแกลบเหล่านี้ (เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเพื่อแยกเมล็ดพืชออกจากเปลือก) เพื่อสร้างไฟ LED แบบซิลิคอนควอนตัมดอท (QD) ทางมหาวิทยาลัยอ้างว่าการค้นพบนี้สามารถแปลงแกลบและขยะทางการเกษตรอื่น ๆ ให้กลายเป็นไดโอดเปล่งแสงที่ทันสมัยด้วยต้นทุนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เนื่องจากการผลิต QD ทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับวัสดุที่เป็นสารพิษ ตัวอย่างเช่น แคดเมียม ตะกั่ว หรือโลหะหนักอื่น ๆ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการพิจารณาบ่อยครั้งเมื่อใช้วัสดุแบบนาโน” นาย Ken-ichi Saitow ผู้เขียนนำการศึกษาและศาสตราจารย์ด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยฮิโรชิมากล่าว

เว็บไซต์ Xplore เสริมว่า “กระบวนการใหม่ที่ถูกเสนอนี้รวมถึงวิธีการผลิตสำหรับ QD ช่วยลดความกังวลในด้านการใช้วัสดุที่เป็นพิษเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด”

ขณะที่เว็บไซต์ Tom’s Hardware ตั้งข้อสังเกตว่าดูเหมือนว่าแกลบข้าวสามารถถูกแปรรูปได้ โดยการเผาสารประกอบอินทรีย์ บดและให้ความร้อนผงซิลิกาที่เหลือ โดยใช้การกัดด้วยสารเคมีเพื่อลดผงให้เป็นอนุภาคขนาด 3 นาโนเมตร จากนั้นจึงเติมตัวทำละลายอินทรีย์เพื่อให้ได้ของเหลวที่เป็นผลึก 3 นาโนเมตร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งกำหนดที่ดีของสารซิลิกอนที่มีรูพรุน

เมื่อกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์จะได้สารซิลิคอนควอนตัมดอท (SiQDs) ที่ปราศจากโลหะซึ่ง “สามารถเรืองแสงในช่วงสีส้ม-แดงด้วยประสิทธิภาพการเรืองแสงสูงกว่า 20%”

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานจอ LED มากกว่าที่เคย วัสดุที่ไม่เป็นพิษนี้มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย รวมถึงในทีวี quantum dot และทีวี QD-OLED รุ่นใหม่กว่าซึ่งให้ศักยภาพในการถ่ายทอดภาพที่มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม

แล้วแกลบแปรรูปเหล่านี้จะถูกใช้งานในจอทีวีของเราได้เมื่อไหร่ ? เช่นเดียวกับการค้นพบทางเทคโนโลยีที่สำคัญและล้ำสมัย ยังมีการบ้านที่ต้องทำอีกพอสมควรก่อนที่มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตในปริมาณมาก

ทีมงานกล่าวว่าขณะนี้กำลังสำรวจความเป็นไปได้ของการใช้ของเสียทางการเกษตร จากพืชที่อุดมด้วยซิลิกอนอื่น ๆ เช่น ข้าวสาลี, ต้นอ้อย, ข้าวบาร์เลย์ หรือหญ้า เนื่องจาก SiQD ที่ได้จากพืชเหล่านี้อาจมีลักษณะการเรืองแสงที่แตกต่างกันโดยธรรมชาติ


ที่มา: whathifi

Exit mobile version