fbpx
NEWS

ทีวีในอนาคตอาจใช้เทคโนโลยี Quantum Dots ที่ทำจากแกลบข้าว

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮิโรชิม่าในประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนากระบวนการที่สามารถลดการใช้งานวัสดุเป็นพิษที่ใช้ในกระบวนการผลิตจอแสดงผล Quantum Dot (QD) LED

โดยทีมวิจัยซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาพื้นฐาน ได้ค้นพบวิธีที่จะนำกากแกลบจากเปลือกข้าวทั่วโลกจำนวน 100 ล้านตัน ซึ่งสร้างขึ้นเป็นประจำทุกปี มาใช้ประโยชน์ในการผลิตหน้าจอโทรทัศน์ QD-OLED

จากพื้นฐานแล้ว ทีมงานได้ค้นพบวิธีการรีไซเคิลแกลบเหล่านี้ (เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเพื่อแยกเมล็ดพืชออกจากเปลือก) เพื่อสร้างไฟ LED แบบซิลิคอนควอนตัมดอท (QD) ทางมหาวิทยาลัยอ้างว่าการค้นพบนี้สามารถแปลงแกลบและขยะทางการเกษตรอื่น ๆ ให้กลายเป็นไดโอดเปล่งแสงที่ทันสมัยด้วยต้นทุนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เนื่องจากการผลิต QD ทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับวัสดุที่เป็นสารพิษ ตัวอย่างเช่น แคดเมียม ตะกั่ว หรือโลหะหนักอื่น ๆ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการพิจารณาบ่อยครั้งเมื่อใช้วัสดุแบบนาโน” นาย Ken-ichi Saitow ผู้เขียนนำการศึกษาและศาสตราจารย์ด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยฮิโรชิมากล่าว

เว็บไซต์ Xplore เสริมว่า “กระบวนการใหม่ที่ถูกเสนอนี้รวมถึงวิธีการผลิตสำหรับ QD ช่วยลดความกังวลในด้านการใช้วัสดุที่เป็นพิษเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด”

Future TVs may feature Quantum Dots made from rice

ขณะที่เว็บไซต์ Tom’s Hardware ตั้งข้อสังเกตว่าดูเหมือนว่าแกลบข้าวสามารถถูกแปรรูปได้ โดยการเผาสารประกอบอินทรีย์ บดและให้ความร้อนผงซิลิกาที่เหลือ โดยใช้การกัดด้วยสารเคมีเพื่อลดผงให้เป็นอนุภาคขนาด 3 นาโนเมตร จากนั้นจึงเติมตัวทำละลายอินทรีย์เพื่อให้ได้ของเหลวที่เป็นผลึก 3 นาโนเมตร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งกำหนดที่ดีของสารซิลิกอนที่มีรูพรุน

เมื่อกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์จะได้สารซิลิคอนควอนตัมดอท (SiQDs) ที่ปราศจากโลหะซึ่ง “สามารถเรืองแสงในช่วงสีส้ม-แดงด้วยประสิทธิภาพการเรืองแสงสูงกว่า 20%”

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานจอ LED มากกว่าที่เคย วัสดุที่ไม่เป็นพิษนี้มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย รวมถึงในทีวี quantum dot และทีวี QD-OLED รุ่นใหม่กว่าซึ่งให้ศักยภาพในการถ่ายทอดภาพที่มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม

แล้วแกลบแปรรูปเหล่านี้จะถูกใช้งานในจอทีวีของเราได้เมื่อไหร่ ? เช่นเดียวกับการค้นพบทางเทคโนโลยีที่สำคัญและล้ำสมัย ยังมีการบ้านที่ต้องทำอีกพอสมควรก่อนที่มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตในปริมาณมาก

ทีมงานกล่าวว่าขณะนี้กำลังสำรวจความเป็นไปได้ของการใช้ของเสียทางการเกษตร จากพืชที่อุดมด้วยซิลิกอนอื่น ๆ เช่น ข้าวสาลี, ต้นอ้อย, ข้าวบาร์เลย์ หรือหญ้า เนื่องจาก SiQD ที่ได้จากพืชเหล่านี้อาจมีลักษณะการเรืองแสงที่แตกต่างกันโดยธรรมชาติ


ที่มา: whathifi

กองบรรณาธิการ AV Tech Guide

สื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมในกลุ่มสินค้าเครื่องเสียงไฮไฟ โฮมเธียเตอร์ ไอทีมัลติมีเดีย ตลอดจนสินค้านวัตกรรมอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ