fbpx
NEWS

Fujifilm คิดค้นเทปแม่เหล็กความจุสูง (580TB) เก็บข้อมูลได้เทียบเท่าแผ่นซีดีเกือบ 8 แสนแผ่น

Fujifilm คิดค้นเทปแม่เหล็กความจุสูงซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาร่วมกับ IBM Research โดยใช้อนุภาคแม่เหล็กชนิดใหม่ที่เรียกว่า Strontium Ferrite (SrFe) ซึ่งนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแม่เหล็กสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า

ทาง Fujifilm ได้ค้นพบว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ Strontium Ferrite จะถูกนำมาใช้งานแทนแบเรียมเฟอร์ไรต์ (BaFe) ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังพบว่า SrFe มีคุณลักษณะความเป็นแม่เหล็กสูงกว่าในปริมาณอนุภาคที่น้อยกว่า BaFe ถึง 60%

และเช่นเดียวกับ BaFe อนุภาคแม่เหล็ก SrFe เป็นออกไซด์ที่มีความเสถียรทางเคมี นั่นหมายความว่า มันเหมาะสำหรับการเก็บใช้รักษาข้อมูลในระยะยาว

Fujifilm เผยว่า “เทปแม่เหล็กที่ใช้ในการทดสอบนี้ผลิตขึ้นที่โรงงานของทางบริษัทเองโดยอยู่ในส่วนของงานเคลือบผิว นั่นเป็นการยืนยันถึงความสามารถในการรองรับการผลิตจำนวนมาก รวมทั้งการผลิตในเชิงพาณิชย์”

Fujifilm invent new magnetic tape with 580 terabytes per unit

การบันทึกข้อ ปริมาณข้อมูลที่สามารถเก็บลงในแถบเส้นเทปได้นั้นถูกจัดเก็บที่ความหนาแน่นเป็นสถิติใหม่คืออยู่ที่ 317 GB ต่อตารางนิ้ว โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนา รวมถึงเทคโนโลยีหัวเทปแรงเสียดทานต่ำแบบใหม่ ตัวกระตุ้นและเซอร์โวที่อยู่ด้านหลังซึ่งมีความเร็วและความแม่นยำในระดับน่าทึ่ง

Fujifilm invent new magnetic tape with 580 terabytes per unit

Mark Lantz ผู้จัดการฝ่ายวิจัยของไอบีเอ็มเผย “ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูลเส้นเทปจะวิ่งผ่านหัวอ่านไปด้วยความเร็วประมาณ 15 กม./ชม. ด้วยเทคโนโลยีเซอร์โวแบบใหม่ของเรา เส้นเทปจะยังคงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมบนหัวเทปได้อย่างแม่นยำในระดับที่คลาดเคลื่อนประมาณ 1.5 เท่าเมื่อเทียบขนาดโมเลกุลของ DNA

เป็นผลให้เทปแม่เหล็กแบบใหม่นี้สามารถจุข้อมูลได้มากกว่าระบบเทปบันทึกข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันถึง 50 เท่า ด้วยความจุสูงถึง 580TB หรือเทียบอัตราส่วนเทียบเท่ากับแผ่นซีดีประมาณ 786,977 แผ่น หรือเทียบเท่าแผ่นดีวีดีประมาณ 120,000 แผ่น

“ในแง่ของต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลบนเทปรุ่นใหม่นี้ มีค่าใช้จ่ายประมาณเพนนีต่อกิกะไบต์ และเมื่อไม่ใช้งานเทปไม่ต้องใช้พลังงานต่างจากฮาร์ดดิสก์และแฟลชไดร์ฟ”

IBM เพิ่มเติมว่า “พูดง่าย ๆ คือข้อมูลที่จัดเก็บในเทปนั้นช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการระบบคลาวด์จะมีข้อมูลทันทีที่ต้องการ นอกจากนี้เมื่อจัดเก็บอย่างเหมาะสม ข้อมูลที่บันทึกในเทปวันนี้จะยังคงสามารถอ่านได้ในอีก 30 ปีข้างหน้า”


ที่มา: PetaPixel

 

กองบรรณาธิการ AV Tech Guide

สื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมในกลุ่มสินค้าเครื่องเสียงไฮไฟ โฮมเธียเตอร์ ไอทีมัลติมีเดีย ตลอดจนสินค้านวัตกรรมอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คนทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ